สาระน่ารู้
 

รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน

สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน

เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการทางการเงินที่หลากหลายกับลูกค้าของตน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านั้นอาจมีความซับซ้อน และความเสี่ยง จึงอาจเป็นความสะดวกสบายที่นำภัยมาสู่ผู้บริโภคได้ ด้วยเหตุนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) จึงกำหนดให้สถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเป็นการดูแล และคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบ แต่ในขณะเดียวกัน การเป็นผู้บริโภคในยุคผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เฟื่องฟู ก็จำเป็นต้องรู้จัก และปกป้องสิทธิและหน้าที่ของตนเอง

สิทธิในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน

ผู้ใช้บริการทางการเงินมีสิทธิที่จะได้รับทราบรายละเอียด และเงื่อนไขการให้บริการต่าง ๆ ซึ่งสถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการให้บริการต่างๆอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ ต่อการเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงตามเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนด ดังนี้ " เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไว้ในที่เปิดเผย สังเกตุเห็นง่าย เช่น สำนักงานใหญ่ สาขาที่ทำการ รวมทั้งในเว็บไซต์ของตนเองและของแบงก์ชาติ เพื่อสร้างความโปร่งใส และช่วยให้ลูกค้ามีข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อประกอบการตัดสินใจ " เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) ที่ผู้ฝากเงินได้รับให้แก่ผู้ฝากเงินทราบด้วย เช่น ในใบโฆษณาเงินฝากประจำที่มีการให้อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได เป็นต้น

เปิดเผยข้อมูลอย่างไร

  • เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินมีหน้าที่อธิบายลักษณะของผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการต่างๆ ให้ท่านเข้าใจก่อนตัดสินใจ
  • การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ให้ข้อมูลครบถ้วน ไม่ก่อให้เกิดการเข้าใจผิด
ไม่โฆษณาเกินจริง และต้องระบุอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและชัดเจน
  • กรณีขอกู้เงินแล้วไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ สถาบันการเงินต้องมีหนังสือชี้แจงเหตุผลที่ไม่ให้เงินกู้ และท่านมีสิทธิในการขอคืนเอกสารประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และต้องได้รับเอกสารคืนภายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ท่านเกิดความเข้าใจ สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ และมีข้อมูลในการปรับปรุงประสิทธิภาพตนเองเพื่อขอสินเชื่อใหม่


สิทธิที่ต้องได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการติดตามทวงถามหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดแนวนโยบายในการติดตามทวงถามหนี้ของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับ เพื่อความเหมาะสม และความเป็นธรรมกับลูกหนี้ดังนี้

1. ติดตามทวงถามได้เฉพาะภายในเวลาที่กำหนด

- วันจันทร์ - วันศุกร์ ภายในเวลา 08.00 น. - 20.00 น.
- วันหยุดราชการ ภายในเวลา 08.00 น. - 18.00 น.
- ความถี่ในการติดต่อต้องเหมาะสม

2. ต้องแสดงตัวและแจ้งวัตถุประสงค์ในการติดตามทวงถามหนี้

- กรณีเป็นสถาบันการเงิน ต้องแจ้งชื่อ และวัตถุประสงค์ในการติดต่อให้ลูกหนี้ได้รับทราบอย่างถูกต้องเหมาะสม
- กรณีเป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ (ตัวแทนสถาบันการเงิน) ต้องแสดงเอกสาร ว่าได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบธุรกิจให้ทำการแทน

3. ต้องใช้วิธีการเรียกเก็บหนี้ที่เหมาะสม - เก็บเงินได้จากลูกหนี้เท่านั้น ยกเว้นได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ หรือเป็นสิทธิตามกฏหมาย - ไม่รบกวนหรือรังควานลูกหนี้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
- ไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง หรือหยาบคาย ข่มขู่ และคุกคามในลักษณะที่ผิดกฏหมายเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้
- ห้ามปลอมแปลง บิดเบือนข้อมูล เอกสาร หรือแสดงท่าทางอันทำให้ลูกหนี้สำคัญผิดว่าเอกสารเรียกเก็บหนี้
หรือเอกสารที่ใช้ในการติดต่อกับลูกหนี้นั้น ออกหรือได้รับอนุญาต หรือรับรองจากหน่วยงานของรัฐ หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต

4. ต้องเก็บรักษาความลับของลูกหนี้ ห้ามเปิดเผยข้อมูลหนี้ของลูกหนี้ให้บุคคลอื่นทราบระหว่างติดต่อทวงถามหนี้ แม้จะเป็นบุคคลในครอบครัว ยกเว้นได้รับความยินยอมจากลูกหนี้

5. ต้องมีหลักฐานแสดงการรับเงินจากลูกหนี้ที่เหมาะสมและมีผลในทางกฎหมาย

ข้อควรรู้ก่อนเป็นลูกหนี้

1. ก่อนเป็นลูกหนี้ ผู้ประกอบการหรือสถาบันการเงินต้องแจ้งให้ผู้ที่มาขอกู้เงินครั้งแรกทราบในเรื่องต่อไปนี้ - ค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในการกู้เงิน เช่น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าปรับต่างๆ - รายชื่อตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการติดตามทวงถามหนี้

2. ขณะเป็นลูกหนี้ - ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้าหากมอบหมายให้ผู้อื่นเก็บหนี้แทน - ต้องจัดส่งเอกสารยืนยันยอดหนี้ให้แก่ลูกหนี้

3. ลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้ที่สถาบันการเงิน หรือแบงก์ชาติ หากสถาบันการเงินหรือตัวแทนมีพฤติกรรมในการติดตามทวงถามหนี้ไม่เหมาะสม หรือเข้าข่ายคุกคามลูกหนี้ หมายเหตุ : กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ. ติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรมเพื่อเป็นกฏหมายที่ใช้ควบคุมผู้ทวงถามหนี้ ของสินเชื่อทุกประเภท และสร้างความเป็นธรรมต่อลูกหนี้

สิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ " สิทธิที่จะรับรู้ว่าบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของเราอะไรบ้าง " สิทธิที่จะขอตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และต้องได้รับแจ้งผลการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่กำหนด " สิทธิที่จะขอตรวจสอบข้อมูลโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม กรณีที่สถาบันการเงินปฏิเสธคำขอสินเชื่อเพราะใช้ข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ แต่ต้องดำเนินการภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับการปฏิเสธการขอสินเชื่อนั้น " สิทธิที่จะโต้แย้งและขอแก้ไขเมื่อทราบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง " สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่หาข้อยุติไม่ได้ระหว่างเจ้าของข้อมูลกับบริษัทข้อมูลเครดิต

สิทธิในการร้องเรียนเมื่อประสบปัญหาการใช้บริการทางการเงิน เมื่อประสบกับปัญหาในการใช้บริการทางการเงินสามารถร้องเรียนได้ที่ " สถาบันการเงินผู้ให้บริการ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น การเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มแล้วไม่ได้รับเงิน เงินฝากในบัญชีสูญหาย มีผู้อื่นนำบัตรเครดิต ไปซื้อสินค้าและบริการ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการในเวลาที่เหมาะสมรวมทั้งแจ้งขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไป หากต้องใช้เวลาในการดำเนินการ " ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับการชี้แจงจากสถาบันการเงิน รวมทั้งกรณีที่ท่านต้องการสอบถาม หรือขอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่แบงก์ชาติดูแล เช่น ธนบัตร พันธบัตร ตราสารหนี้ และการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น




ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสินเชื่อ




ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลทางการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและสอบถามข้อมูลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้
" โทรสายด่วน 1213 (บริการตอบรับอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง)
" เว็บไซต์ แบงก์ชาติ www.bot.or.th และเลือก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
" ส่ง e-mail ถึง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) : fcc@bot.or.th
ส่งโทรสาร (FAX) หมายเลข 0-2283-6151 หรือ
" ติดต่อขอพบเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำปรึกษา ตามที่อยู่ด้านล่างนี้


ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
อาคาร 3 ชั้น 5
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่
ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200


ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300


ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
393 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000


ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดหใญ่
จังหวัดสงขลา 90110


บริษัท เพชรฤกษ์ จำกัด เลขที่ 19 อาคารพงษ์สุภี ซอยยาสูบ 1 ถนน วิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900